วันอังคารที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

องค์ประกอบของสมรรถภาพทางกาย

        การที่คนเราจะทราบได้ว่า สมรรถภาพทางกายของตนจะดีหรือไม่นั้นจะต้องพิจารณาที่องค์ประกอบต่าง ๆ ของสมรรถภาพ ทางกาย ซึ่งกองส่งเสริมพลศึกษาและสุขภาพกรมพลศึกษา ได้กล่าวถึง สมรรถภาทางกายโดยทั่วไป ประกอบด้วยสมรรถภาพ ด้านย่อย ๆ 9 ด้าน
                 1. ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
                 2. ความทนทานของกล้ามเนื้อ
                 3. ความทนทานของระบบหมุนเวียนของโลหิต
                 4. พลังของกล้ามเนื้อ
                 5. ความอ่อนตัว
                 6. ความเร็ว
                 7. การทรงตัว
                 8. ความว่องไว
                 9. ความสัมพันธ์ระหว่างมือกับตาและเท้ากับตา
                องค์ประกอบต่าง ๆ ที่กล่าวไว้ข้างต้นแต่ละด้าน มีความหมายที่แตกต่างกันไป ดังนี้
                1. ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
(Muscular Strength)  หมายถึง ความสามารถในการหดตัวหรือการทำงานของกล้ามเนื้อที่จะทำอย่างใดอย่างหนึ่ง ได้สูงสุดในแต่ละครั้ง เช่น ความสามารถในการยกของหนัก ๆ ได้ มีพลังบีบมือได้เหนียวแน่น และสามารถออกแรง ผลักของหนัก ๆ ให้เคลื่อนที่ได้เป็นต้น
                 2. ความทนทานของกล้ามเนื้อ
(Muscular Endurance)  หมายถึงความสามารถของกล้ามเนื้อในการทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งได้ติดต่อกัน เป็นเวลานาน ๆ ได้งานมาก แต่เหนื่อยน้อย ตัวอย่าง การทำงานที่แสดงถึงความทนทานของกล้ามเนื้อ เช่น การแบกของหนักได้ เป็นเวลานาน ๆ การวิ่งระยะไกล การถีบจักรยานทางไกลการงอแขนห้อยตัวเป็นเวลานาน ๆ เป็นต้น
                 3. ความทนทานของระบบหมุนเวียนโลหิต
(Cardio – Respiratory Endurance)  หมายถึงความสามรถในการทำงานขอระบบหมุนเวียนโลหิต ซึ่งประกอบด้วย หัวใจ ปอด และเส้นเลือดที่จะทำงานได้นาน เหมื่อยช้า ในขณะที่บุคคลใช้กำลังกายเป็นเวลานาน และเมื่อร่างกาย เลิกทำงานแล้ว ระบบหมุนเวียนโลหิตจะสามารถกลับคืนสู่สภาพปกติได้ในเวลารวดเร็ว ตัวอย่างกิจกรรมที่ปฏิบัติแล้วแสดงถึง การมีความทนทานของ ระบบหมุนเวียนโลหิต เช่น การว่ายน้ำระยะไกล การวิ่งระยะไกล โดยการทำงานของระบบไหลเวียนโลหิตและระบบหายใจไม่ผิดปรกติ
                 4. พลังกล้ามเนื้อ หมายถึง ความสามารถของกล้ามเนื้อในการทำงานในครั้งหนึ่งอย่างแรงและรวดเร็ว จนทำให้วัตถุหรือร่างกาย เคลื่อนไหวอย่างเต็มที่ การทำงานของร่างกายที่ใช้พลังกล้ามเนื้อ จะเป็นกิจกรรมประเภทการดึง ดัน ทุ่ม พุ่ง ขว้าง และกระโดด ดังตัวอย่าง การกระโดดสูง การทุ่มน้ำหนัก พุ่งแหลน ขว้างจักร และการยืนกระโดดไกล เป็นต้น
                  5. ความอ่อนตัว
(Flexibility)  หมายถึง การประสานงานระหว่างกล้ามเนื้อ เอ็น พังผืด และข้อต่อต่าง ๆ ที่มีความยืดหยุ่นในขณะทำงาน หรือ อาจกล่าวได้ว่าเป็นความสามารถในการเหยียดตัวของข้อต่อส่วนต่าง ๆ ของร่างกายในขณะทำงาน เช่น การก้มตัวใช้มือแตะพื้นโดยไม่งอเข่า การแอ่นตัวใช้มือแตะขาพับได้โดยไม่งอเข่า เป็นต้น
                  6. ความเร็ว
(Speed) หมายถึง ความสามารถของร่างกายในการเคลื่อนที่ในลักษณะเดียวกัน จากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่งในแนวเดียวกัน หรือในแนวตรงในระยะเวลาที่สั้นที่สุด เช่น การวิ่งระยะสั้น
                  7. การทรงตัว
(F) หมายถึง การประสานงานระหว่างระบบของประสาทกับกล้ามเนื้อที่ทำให้ร่างกายสามารถทรงตัวอยู่ใน ตำแหน่งต่าง ๆ อย่างสมดุลตามความต้องการ กิจกรรมที่เป็นการทรงตัว เช่น การเดินตามเส้นตรงด้วยปลายเท้า การยืนด้วยเท้าข้างเดียวกางแขน การเดินต่อเท้าบนสะพานไม้แผ่นเดียว เป็นต้น
                   8. ความว่องไว
(F) หรือความคล่องตัว หมายถึง ความสามารถในการเปลี่ยนทิศทาง หรือเปลี่ยนตำแหน่งการเคลื่อนไหว ของร่างกายอย่างรวดเร็ว และตรงเป้าหมายตามที่ต้องการ ดังตัวอย่างที่แสดงถึงความว่องไว เช่น การยืนและ นั่งสลับกันด้วย ความรวดเร็ว เป็นต้น
                   9. ความสัมพันธ์ระหว่างมือกับตาและเท้ากับตา หรืออาจเรียกได้ว่าเป็นการประสานงานของประสาทกับกล้ามเนื้อ ในการทำงาน หมายถึง ความสามารถที่จะทำการเคลื่อนไหวมือและเท้าได้สัมพันธ์กับตาในขณะทำงาน เช่น การจับ การปาเป้า การยิงประตูฟุตบอล การส่งลูกบอลกรทบฝาผนังแล้วรับ เป็นต้น




             

กีฬาเพื่อพัฒนาสุขภาพ

      เล่นกีฬาที่ชอบ เพื่อสุขภาพที่แข็งแรง
   
      การเล่นกีฬานั้น ประกอบด้วยกิจกรรมปกติหรือทักษะที่อยู่ภายใต้กติกาซึ่งถูกกำหนดโดยความเห็นที่ตรงกันโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อการพักผ่อน การแข่งขัน ความเพลิดเพลิน ความสำเร็จ การพัฒนาของทักษะ หรือหลายสิ่งรวมกัน กีฬาเป็นกิจกรรมที่ควบคู่กับการแข่งขัน โดยการเล่นกีฬานั้นมีหลายวัตถุประสงค์อาจจะเล่นเพื่อความเป็นเลิศ เล่นกีฬาเป็นอาชีพ เหล่าดีก็ล้วนเป็นสิ่งที่ควบคู่ไปกับการมีสุขภาพที่แข็งแรงจากการออกกำลังกายโดยการเล่นกีฬาทั้งสิ้น และการเล่นกีฬานั้นมัหลายประเภทซึ่งขึ้นอยู่กับบุคคลว่าต้องการเล่นกีฬาชนิดใด ซึ่งกีฬาแต่ละชนิดก็มีความแตกต่างกันทั้งวิธีการเล่น กฏกติกามารยาท ขึ้นอยู่กับความชอบและความถนัดของแต่ละบุคคล

      


         การเลือกเล่นกีฬานั้นควรจะดูถึงความเหมาะสมของสรีระหรือร่างกายของผู้เล่นด้วยว่ามีความเหมาะสมกับกีฬาชนิดนั้นหรือไม่ อาจรวมถึงทักษะความถนัดความชอบของแต่ละบุคคล แต่สำหรับการเล่นกีฬาเพื่ออกกำลังกายหรือเพื่อสุขภาพนั้น ก็อาจจะคำนึงถึงแค่เพียงความชอบและความถนัดเท่านั้นอาจจะไม่ต้องมีทักษะหรือความถนัดอะไรมากมายก็สามารถเล่นกีฬาเพื่อเสริมสร้างสุขภาพให้แข็งแรงได้